การใช้ชีวิตของคนในปัจจุบัน อ่ า นแล้วน่าคิดตาม

การใช้ชีวิตของคนในปัจจุบัน อ่ า นแล้วน่าคิดตาม
ในการไปทำงานแต่ละวัน เพื่อแลกกับค่าตอบแทนรายวัน หรือสำหรับพนังงานประจำที่รอเงินเดือน บางคนก็ใช้เงินไม่พอ ช นเดือน ก็ต้องไปหายืมทางนั้นทางนี้มาใช้ก่อน ให้ผ่านพ้นไปได้ในแต่ละเดือน แถบจะไม่เหลือเก็บออม หรือนำไปลงทุนเลย

แต่ลืมคิดไปหรือเปล่าว่า หากวันหนึ่งที่อายุของคุณมากเกินกว่าที่จะมานั่งทำงานแบบเดิมได้แล้ว คุณจะเอาเงินที่ไหนใช้ จากข้อมูลสถิติความเป็นอยู่ของคนในยุคนี้ นี่คือเ รื่ อ งจริงที่เราต้องเจอในวัยเกษียณ ถ้าคุณยังไม่วางแผนทางการเงินของคุณไว้ดี ชีวิตคุณจะลำบากแน่นอน

ค่าใช้จ่ายในการใช้ชีวิตของคนเรา คิดเป็นค่าอาหารสำหรับ 1 คน

1 วัน = กิน 3 มื้อ

1 ปี 3 × 365 วัน = 1,095 มื้อ

– ถ้ากินมื้อละ 30 บาท 1 ปี ต้องใช้เงิน = 32,850 บาท

– ถ้ากินมื้อละ 100 บาท 1 ปี ต้องใช้เงิน = 109,500 บาท

ต่อไปเรามาดูสัดส่วนของคนในประเทศกันดีกว่า ว่าแต่ละระดับคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ เมื่อถึงวัยเกษียณ

1% = ร่ำຣวຢ เป็นเศรษฐี

4% = มีเงินใช้สุขสบาย

7% = พึ่งพาตัวเองได้

40% = ต้องพึ่งพาลูกหลาน สถานสงเคราะห์

48% = ยังคงต้องทำงานหนักแม้จะอายุแล้ว

นั่นหมายความว่า มี 5% ที่ใช้ชีวิตอย่างสบายหลังเกษียณ

ในขณะที่คนอีก 95% ยังต้องลำบากทำงานหาเงินเลี้ยงดูตัวเองอยู่

ในวัยที่ไม่มีแรงมากพอจะทำงานหาเงินได้เหมือนเดิมแล้ว

สิ่ งนี้บอกอะไรเราได้บ้าง นั่นหมายความว่าเราต้องหันกลับมาคิดทบทวนถึงการใช้ชีวิตของตัวเองให้มากขึ้น

ดังนั้น หลังเกษียณตอนอายุ 60 ปี ต้องมีเงินเก็บไว้สำหรับการใช้ชีวิตโดยไม่ต้องทำงานแล้ว

แน่นอนว่าการจะไปหาเงินหลังจากอายุ 60 ปี คงไม่ใช่เ รื่ อ งง่ายอีกต่อไป

เราจึงต้องมีการวางแผนทางการเงินให้ดี และเตรียมพร้อมรับมือกับชีวิตในวัยเกษียณ

สมมุติ เกษียณ 60 หาก อยู่ได้ถึงอายุ 85 ส่วนต่างคือ 25 ปี คำนวนในราคามื้อละ 30 บาท เงินสำหรับกินข้าว 25 ปี 821,250 บาท

อย่าลืมว่า นี่คือเฉพาะเงินกินข้าว เฉพาะ ค่าอาหาร โดยไม่มีมื้อพิเศษ บุฟเฟ่ต์ 299 หรือ 399 บาท อย่าได้หวัง และ ไม่มีการกินในห้าง ไม่มีการฉลองในวันสำคัญต่าง

ตัวอ ย่า ง นี้ เป็นเพียงค่าการดำรงค์ชีพพื้นฐานในราคาร้านข้างทาง อีกทั้งยังไม่ได้คิดค่าเงินเฟ้อที่จะทำให้ค่าใช้จ่ายในการกินอยู่แพงขึ้นในวันข้างหน้า

นอกจากนี้ เราอาจต้องมีรายจ่ายทั้ง 6 ข้อ ตลอด 25 ปีข้างหน้า

1. เสื้อผ้า รองเท้า เครื่องนุ่งหุ่ม

2. ค่าย า ค่ารั ก ษ า พย าบาล

3. ค่าใช้จ่ายการเดินทาง พักผ่อน ไปธุระต่าง

4. ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าเน็ต

5. ค่าซ่อมแซมบ้าน ค่าซ่อมแซมรถ

6. ค่าภาษีสังคมต่าง งานบุญ งานบวช

ในความเป็นจริง ชีวิตของเรายังมีค่าใช้จ่ายอีกหลายอย่างที่เราต้องคิดคำนวณเผื่อไว้เช่นกัน

วัยเกษียณ เงินเก็บควรมีให้พอสำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ท่องเที่ยว รั กษ าตัวที่โรงพย าบาล

สำหรับสูตรการคำนวณอย่างง่าย คือ

เงินเก็บไว้ใช้หลังเกษียณ = ภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือน x 12 เดือน x อายุขัยหลังเกษียณ x 2 เท่า

เช่น วางแผนเกษียณอายุ 55 ปี คาดว่าอนาคตจะใช้จ่ายเดือนละ 25,000 บาท

หากมีอายุขัยถึง 80 ปี ดังนั้นต้องเตรียมเงิน 25,000 x 12 x (80-55) x 2 = 15 ล้านบาท

หรือหากเปลี่ยนเป็นเกษียณอายุ 60 ปี ดังนั้นต้องเตรียมเงิน 25,000 x 12 x (80-60) x 2 = 12 ล้านบาท

รู้หรือยัง ทำไมต้องทำงานหนัก ทำไมต้องรีบเก็บเงิน…

รู้หรือยังว่าทำไมต้องขยัน ประหยัด เก็บออม และ ลงทุน ตั้งแต่วันนี้…

ยิ่งคิดได้ช้าเท่าไร ก็ยิ่งพลาดโอกาสในชีวิตมากขึ้นไปเท่านั้น

เพราะ ทุกลมหายใจที่เพิ่มขึ้น คือค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่เพิ่มขึ้น